โครงการหลักสูตรการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะชุมชน
โครงการหลักสูตรการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะชุมชน เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างสถาบันอาศรมศิลป์กับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มีเป้าหมายที่การจัดอบรม เพื่อสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงชุมชน (Change Agent) ที่จะทำความเข้าใจบริบท สถานการณ์ ปัญหาและศักยภาพของชุมชน ผ่านการสำรวจชุมชนด้วยเครื่องมือต่างๆ เช่น แผนที่ การทำแบบสอบถาม แล้วนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนพัฒนาพื้นที่ชุมชน นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนต่อไป เป็นการสร้างคนและสร้างพื้นที่ไปพร้อมกัน กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมอบรม คือ แกนนำชุมชน อสม. กลุ่มคนที่ทำงานด้านสังคม และผู้ที่มีความสนใจในการทำงานพัฒนาชุมชน โครงการมีระยะเวลาในการดำเนินงาน 3 ปี โดยได้ทำการจัดอบรมชุมชน 22 ชุมชน จาก 5 พื้นที่ หลังการอบรมมีพื้นที่ต้นแบบสุขภาวะเกิดขึ้น 4 พื้นที่
สถานการณ์
1) การพัฒนาพื้นที่สุขภาวะในชุมชน นอกจากทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (เพิ่มกิจกรรมทางกาย/ลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง) แล้วยังสามารถสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้อยู่อาศัยในชุมชน
1.1) การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางกาย มีผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม (70:30)
2) ชุมชนเป็นหน่วยที่สำคัญในการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะทั่วประเทศ
2.1) ชุมชน มีขนาดเหมาะสมที่จะสามารถขับเคลื่อนสภาพแวดล้อมของพื้นที่ให้เอื้อต่อสุขภาวะในระดับสาธารณะ
2.2) ในประเทศไทย มีชุมชนที่จดทะเบียนอยู่ ๗๕,๐๘๖ ชุมชน ที่สามารถขยายผลในการพัฒนาสุขภาวะของชุมชนได้
3) การพัฒนาชุมชนในปัจจุบันส่วนใหญ่มาจากนโยบาย top-down จากภาครัฐ ขาดความเข้าใจสถานการณ์ความต้องการที่แท้จริงของชุมชน
4) ชุมชนและแกนนำขาดความรู้ความเข้าใจ ในการวางแผนและผลักดันให้เกิดการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะอย่างมีส่วนร่วมต้นทุนความรู้ของชุมชน ยังไม่ถูกเอามาใช้งานเพื่อต่อยอดการพัฒนา
เป้าหมายโครงการ
“ ออกแบบและพัฒนาหลักสูตร เพื่อสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงพื้นที่สุขภาวะในชุมชน”
หลักสูตรที่ทำให้ชาวบ้านมีทักษะแบบสถาปนิกชุมชน เพื่อลุกขึ้นมาพัฒนาพื้นที่สุขภาวะของตนเอง
1) ชุมชนเข้มแข็ง สามารถวางแผนในการขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนอย่างมีส่วนร่วม ทำงานกับหน่วยงานภาครัฐด้วยความเท่าเทียม
2) ชุมชนมีความรู้ เข้าใจตนเอง เท่าทันสถานการณ์ สามารถรับมือกับสถานการณ์ได้เอง
3) ให้ชุมชนเข้าใจเรื่องพื้นที่สุขภาวะชุมชน สามารถสร้างพื้นที่สุขภาวะได้ด้วยตนเอง
ผลลัพธ์
การออกแบบหลักสูตร
1) เกิดหลักสูตรการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะชุมชน
2) เกิดคู่มือการสำรวจชุมชน
2.1) เป็นหลักสูตรที่สร้างความเข้าใจในชุมชน เพื่อนำไปสู่การวางแผน พัฒนาสุขภาวะชุมชน
2.2) สร้างทักษะในการฟัง
2.3) สร้างทักษะการบริหาร
2.4) ทักษะเรื่องการเชื่อมโยง กายภาพ
เกิด/สร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงในชุมชน
3) ผู้เข้าอบรมเกิดแรงบันดาลใจในการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะชุมชน มีความรู้ ทักษะ ที่จำเป็น เช่น การกำหนดเป้าหมายและวางแผนพัฒนาพื้นที่สุขภาวะชุมชน
4) เกิดกลุ่มคนทำงานที่มีเป้าหมายชัดเจนร่วมกันในการลงมือพัฒนาพื้นที่สุขภาวะชุมชน เกิดผลในการทำงานอย่างเป็นรูปธรรม
– มีความรู้ในการพัฒนา
– มีทักษะความเป็นผู้นำ
5) ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ตั้งแต่การรับรู้ สถานการณ์ ปัญหาของชุมชน ไปจนถึงมีบทบาทในการพัฒนาชุมชน
6) ชุมชนลงมือพัฒนาพื้นที่สุขภาวะขึ้นจริง ในทุกขั้นตอน
เกิดรูปธรรมการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะชุมชน
7) เกิดการดำเนินการพัฒนาที่ชุมชนเป็นหลัก และมีหน่วยงานเครือข่าย ทั้งภาครัฐ เอกชน ทำหน้าที่สนับสนุน
8) เกิดรูปธรรมของพื้นที่สุขภาวะชุมชน ที่ชาวบ้านได้รับประโยชน์ในหลายมิติ
เกิด Platform การเรียนรู้ของพื้นที่ต่างๆ
ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ
ปี 2559 – ปี 2565
Location: | |
Year | 2565 |
Client/Owner: | โครงการหลักสูตรการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะชุมชน โดยการสนับสนุนจาก สสส. และสถาบันอาศรมศิลป์ |
Status: | อยู่ในระหว่างดำเนินการโครงการ |
Building Area: | |
Project Value: | การพัฒนาพื้นที่สุขภาวะในชุมชน นอกจากทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (เพิ่มกิจกรรมทางกาย/ลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง) แล้วยังสามารถสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้อยู่อาศัยในชุมชน การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางกาย เป็นผลมาจากความตั้งใจของตนเอง 30% ที่เหลืออีก 70% มาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ชุมชนเป็นหน่วยที่สำคัญในการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะทั่วประเทศ ชุมชน เป็นหน่วยทางสังคม มีขนาดเหมาะสมที่จะสามารถขับเคลื่อนสภาพแวดล้อมของพื้นที่ให้เอื้อต่อสุขภาวะในระดับสาธารณะ ในประเทศไทย มีชุมชนที่จดทะเบียนอยู่ 75,086 ชุมชน ชุมชนจึงเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญที่สามารถขยายผลในประเด็นการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ การพัฒนาชุมชนในปัจจุบันส่วนใหญ่มาจากนโยบาย top-down จากภาครัฐ ขาดความเข้าใจสถานการณ์ความต้องการที่แท้จริงของชุมชน ชุมชนและแกนนำขาดความรู้ความเข้าใจ ในการวางแผนและผลักดันให้เกิดการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะอย่างมีส่วนร่วม ต้นทุนความรู้ของชุมชน ยังไม่ถูกเอามาใช้งานเพื่อต่อยอดการพัฒนา |
Collaborators: | ภาคีเครือข่ายที่เข้าร่วมโครงการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง |