โครงการรักเฒ่ากัน
ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์ โดยองค์การสหประชาชาติคาดการว่า จะมีประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 26.9 ของประชากรทั้งหมดในปี พ.ศ. 2573
โครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนไปทำให้ประเทศไทย ต้องรับมือกับการดูแลผู้สูงอายุ โดยคนวัยทำงาน มีภาระต้องออกไปประกอบอาชีพนอกบ้าน ส่งผลให้ผู้อายุในบ้านขาดคนดูแล
โครงการรักเฒ่ากันมีเป้าหมายให้ “ชุมชนเป็นกำลังสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุ อย่างมีส่วนร่วม และเชื่อมประสานหน่วยงาน เพื่อให้เกิดการดูแลอย่างเป็นองค์รวม” เนื่องจากชุมชนเป็นหน่วยทางสังคม ที่มีความใกล้ชิดและผูกพันกัน เป็นหน่วยย่อยที่ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ แต่การที่ชุมชนจะรับบทบาทนี้ได้นั้น ต้องมีการสร้างกลไกการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน โดยการมีส่วนร่วม กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการพัฒนาองค์ความรู้ในการดูแล ผู้สูงอายุให้กับชุมชน โดยมีความคาดหวังว่า จะนำไปสู่การดูแลอย่างบูรณาการ มีประสิทธิภาพ ประหยัด แบ่งเบาภาระของภาครัฐ สามารถตอบโจทย์ปัญหาสังคมผู้สูงอายุ ได้อย่างยั่งยืน
สถานการณ์
- ปี 2565 ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มตัว ในขณะที่ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศยังต้องพึ่งพาบริการสาธารณสุขของรัฐ ส่งผลให้งบประมาณด้านการรักษาพยาบาลและสวัสดิการของรัฐเพิ่ม สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- สัดส่วนประชากรผู้สูงอายุต่อวัยทำงานที่เพิ่มขึ้น(ภาวะพึ่งพา) ในขณะที่คนที่อยู่ในวัยทำงานต้องออกไปประกอบอาชีพส่งผลให้ผู้สูงอายุอยู่บ้านโดยไม่มีคนดูแล
- หน่วยงานด้านสาธารณสุขในพื้นที่ที่รับผิดชอบการดูแลผู้สุงอายุโดยตรงไม่สามารถให้บริการกับผู้สูงอายุที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นได้ทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
- การดำเนินการด้านสุขภาวะผู้สูงอายุ โดยภาครัฐเป็นการทำงานแบบแยกส่วน ขาดการประสานการทำงานร่วมกันและส่วนใหญ่เป็นการทำงานเชิงรับ
- ปัจจุบันชุมชนเริ่มเห็นความสำคัญของการเข้ามามีส่วนร่วมดูแลผู้สูงอายุในชุมชน โดยเฉพาะกลุ่ม อสม.ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการดำเนินงาน แต่ยังเป็นการดูแลอย่างไม่เป็นทางการเฉพาะราย ยังขาดความรู้และการจัดระบบดูแลสุขภาวะผู้สูงอายุอย่างเป็นองค์รวม
เป้าหมายโครงการ
“ชุมชนเป็นกำลังสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วม และเชื่อมประสานหน่วยงานเพื่อให้เกิดการดูแลอย่างเป็นองค์รวม”
– ชุมชนมีระบบกลไกการดูแลผู้สูงอายุที่สอดคล้องกับบริบทและสถานการณ์ เพื่อส่งเสริมสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดี โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน และการประสานงานกับหน่วยงานสาธารณสุขและองค์กรท้องถิ่น
– ชุมชนมีกลไกการเก็บข้อมูลคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วม เพื่อประเมินและวางแผนการดูแลผู้สูงอายุทั้งในระดับรายบุคคลและชุมชน ได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ
– ชุมชนมีความรู้พื้นฐานและความเข้าใจหลักการดูแลผู้สูงอายุอย่างเป็นองค์รวม สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงสามารถประสานการทำงานกับหน่วยงานสาธารณสุขและองค์กรท้องถิ่นได้อย่างเท่าเทียม
– พัฒนาองค์ความรู้ในการแก้ปัญหาการดูแลผู้สูงอายุจากสถานการณ์จริงในชุมชน โดยการทำงานบูรณาการข้ามศาสตร์ และสร้างความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางให้กับชุมชนที่มีสถานการณ์ใกล้เคียงกัน
ผลลัพธ์
ทีมจิตอาสาและชุมชน
มีความเข้าใจสถานการณ์ผู้สูงอายุและกลุ่มเปราะบางในชุมชน
เกิดความเห็นอกเห็นใจ เห็นความสำคัญในการช่วยเหลือ สามารถกำหนดเป้าหมายและวางแผนการทำงานดูแลผู้สูงอายุรวมทั้งประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้
ครอบครัวผู้สูงอายุ
เห็นบทบาทความสำคัญของตนเองมากขึ้น ร่วมให้ข้อมูลและดูแลร่วมกับทีมจิตอาสาด้วยวิธีที่ถูกต้อง
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมและสามารถประสานการทำงานร่วมกับชุมชนได้
พื้นที่ต้นแบบ
1) ศูนย์ผู้สูงอายุเขาทอง จังหวัดนครสวรรค์ – สร้างระบบการดูแลผู้สูงอายุผ่านการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่าง ๆ
2) บ้านเอื้ออาทรสาย 5 (หลังองค์พระ) จังหวัดนครปฐม – ปรับปรุงพื้นที่ส่วนกลางให้คนมาใช้งานร่วมกันและช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่เปลี่ยวเหงาอยู่บ้านคนเดียว
3) ชุมชนวัดท่าพูด จังหวัดนครปฐม – ผู้สูงอายุเป็นครูภูมิปัญญา ที่สามารถถ่ายทอดเรื่องราว สู่คนรุ่นหลัง รวมทั้งเป็นผู้นำ ในการจัดกิจกรรมที่ตอบโจทย์ ความต้องการของผู้สูงอายุ
4) ชุมชนบ้านกลึง จังหวัดนครราชสีมา – ทำกิจกรรมและพัฒนาพื้นที่เพื่อให้ผู้สูงอายุและเด็กได้มีปฎิสัมพันธ์กัน สร้างชีวิตชีวาให้กับหมู่บ้าน
พื้นที่ขยายผล
รูปแบบชุมชนเมือง
• ชุมชนบ้านเอื้ออาทร พุทธมณฑล สาย ๕ (ปตท.) จ.นครปฐม
• ชุมชนบ้านเอื้ออาทร นครชัยศรี ( ท่าตำหนัก ) จ.นครปฐม
• ชุมชนบ้านเอื้ออาทร พุทธมณฑลสาย ๔ จ.นครปฐม
• หมู่บ้านธารทอง ๑ หมู่ ๖ จ.นนทบุรี
• หมู่บ้านบัวทอง หมู่ ๙ จ.นนทบุรี
• หมู่บ้านลิขิต หมู่ ๖ จ.นนทบุรี
รูปแบบชุมชนชนบท
• ชุมชนเจริญทรัพย์ จ.นครนายก
• ชุมชนวัดทองย้อย จ.นครนายก
• ชุมชนบ้านหัวหมอน จ.นครนายก
• ชุมชนหมู่ ๖ เทศบาลหนองเสือ จ.ปทุมธานี
• บ้านหนองห่าง หมู่ ๑ จ.นครราชสีมา
• บ้านโนนพัฒนา หมู่ ๑๓ จ.นครราชสีมา
คลิก ! อ่านข้อมูลเพิ่มเติมของโครงการรักเฒ่ากันได้ที่ : โครงการรักเฒ่ากัน
Location: | เครือข่ายชุมชนบ้านเอื้ออาทร / เครือข่ายชุมชนในชนบท |
Year | 2564 |
Client/Owner: | สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) |
Status: | จบโครงการ |
Building Area: | |
Project Value: | “กลไกการดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชนให้สามารถรับมือกับสังคมผู้สูงอายุที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชนโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างระบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน” |
Collaborators: | ภาคีเครือข่ายที่เข้าร่วมโครงการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง |